ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้จัดงานสุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา การประเมินสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ นวัตกรรมอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2564 เพื่อสนับสนุนการประดิษฐ์คิดค้น การสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 25 มีนาคม 2565 ณ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยมีผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ผ่านการคัดเลือกและประเมินผลงานในระดับภาค ทั้ง 5 ภาค แบ่งเป็น 5 ประเภท ๆ ละ20 ผลงาน รวมทั้งสิ้น 100 ผลงาน เข้าร่วมประเมินในรูปแบบระบบออนไลน์ ภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ในปีนี้ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัล มีจำนวน 25 ผลงาน แบ่งเป็นประเภทละ 5 ผลงานดังนี้ ประเภทที่ 1สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมซอฟต์แวร์และระบบสมองกลฝังตัว รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ชุดต่อขยายประตูกั้นคัดกรองอุณหภูมิอัตโนมัติ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ระบบติดตามตัวผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการตรวจรักษา
V.2 วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ เอ็กซ์คอนเน็คแพลตฟอร์มเพื่อการเกษตรอัจฉริยะ วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 และรางวัล Honor Award ได้แก่ แอปนี้ ตื่นเต็มตา วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ ประเภทที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ด้านการประกอบอาชีพ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เครื่องอบพริกแห้งปั่นอัตโนมัติ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และรางวัล Honor Award ได้แก่ เครื่องขายข้าวสารสด วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ เตาอบโอ่งและรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ เครื่องตุ๋นสมุนไพรไทยด้วยระบบไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคลำพูน ประเภทที่ 3 สิ่งประดิษฐ์ด้านผลิตภัณฑ์อาหารไทย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ตูเลแป้งข้าวมะจานูพร้อมไก่กอและสเปรด วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และรางวัล Honor Award ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมแกงมัสมั่น วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ กัมมี่เยลลี่ข้าวสีอินทรีย์เสริมโพรไบโอติกสูตรพลังงานต่ำ วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปางรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ มันแซงอบกรอบเสริมใยอาหารจากผงกากข้าวโพด วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ประเภทที่ 4 สิ่งประดิษฐ์ด้านพลังงานทดแทนเพื่อการเกษตร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ชุดชิงช้าปลูกผักเลี้ยงปลาระบบรีไซเคิลน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ วิทยาลัยการอาชีพไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และรางวัล Honor Award ได้แก่ ตู้อบและรมควันผลิตผลทางการเกษตรพลังงานร่วม วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ เรือไฟฟ้าพลังงานสะอาดเพื่อการเกษตร วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ กล่องเก็บพลังงานเพื่อเกษตรกร วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประเภทที่ 5 สิ่งประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ต่อสารธารณชน รางวัลชนะเลิศ และรางวัล Honor Award ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วย DTEC 2 วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ เครื่องล้างและบำบัดสิ่งปนเปื้อนหอยนางรม วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ แท่นกดเจลแอลกอฮอล์อัตโนมัติอออินวัน สำหรับคัดกรอง โควิค-19 วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ ถังขยะฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วด้วยรังสียูวีซีและโอโซน วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จังหวัดระยอง
กลุ่มประชาสัมพันธ์ / 25 มีนาคม 2565