สยามรัฐออนไลน์
23 มีนาคม 2564 15:51 น.
ประชาสัมพันธ์
รพ.กรุงเทพ สำนักงานใหญ่ พร้อมสนับสนุนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิต และลดอัตราเสี่ยงในการเกิดความพิการให้กับคนไทย โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเคลื่อนย้ำยผู้ป่วยทางอากาศ ที่ จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 64 เตรียมพร้อมรับเทศกาลสงกรานต์
ปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 มีแนวโน้มผ่อนคลายลง สถานการณ์นี้กลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ที่ทาให้เราต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินเองก็ต้องมีการปรับรูปแบบการทางานใหม่โดยเฉพาะ เนื่องจากผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์ถือเป็นกลุ่มด่านหน้า (Frontline) ที่ไปรับและนาส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ ภายใต้ความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 จึงมีความสาคัญยิ่ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเคลื่อนย้ายที่จะเกิดขึ้น
จังหวัดอุบลราชธานี โดย สานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับโรงพยาบาลกรุงเทพสานักงานใหญ่จัดการซ้อมแผนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศที่กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 22 อาเภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยนายแพทย์สุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี คุณรัฐพงษ์ อาพันวงษ์ รองผู้อานวยการ โรงพยาบาลกรุงเทพสานักงานใหญ่ ได้นาเจ้าหน้าที่ร่วมกันฝึกซ้อมแผน โดยมีนายแพทย์เอกกิตติ์ สุรการ ผู้อานวยการศูนย์แจ้งเหตุฉุกเฉินบีดีเอ็มเอส โรงพยาบาลกรุงเทพสานักงานใหญ่ และคณะวิทยากรจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีร่วมถ่ายทอดความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ สาหรับการซ้อมในครั้งนี้สานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร่วมกับโรงพยาบาลในจังหวัดอุบลราชธานี และโรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพที่ 10 เพื่อให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้รับประสบการณ์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ เป็นการสร้างองค์ความรู้ และพัฒนาเครือข่ายในทุกพื้นที่บริการสาธารณสุขของจังหวัดอุบราชธานี ซึ่งในอนาคตจะเตรียมสร้างความร่วมมือกับ สปป.ลาว
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศจำเป็นต้องมีความพร้อมของอากาศยาน อุปกรณ์การช่วยชีวิต และดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในอากาศยาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยขณะเคลื่อนย้าย ด้วยระยะเวลาการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับการเคลื่อนย้ายโดยใช้รถพยาบาล ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของพี่น้องชาวอุบลราชธานีที่จะเพิ่มทางเลือกการบริการการเคลื่อนย้ายทางอากาศ ผู้ป่วยที่เข้าหลักเกณฑ์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) สามารถรับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งในขณะนี้ทีมแพทย์และพยาบาลมีความพร้อมในการให้บริการแล้ว