นักวิจัย มะเขือเทศ คณะเกษตร ม.อุบลราชธานี โชว์ผลงาน ปลูกมะเขือเทศเชอรีระบบไฮโดรโปนิกส์ ให้ผลผลิตมากกว่า 1 ต้น 4,000 ลูก
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำนวัตกรรมระบบเพาะปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ปลูกมะเขือเทศเชอรี่ 1 ต้น สามารถออกผลได้มากกว่า 4,000 ลูก โดย รองศาสตราจารย์ ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ นักวิจัยคณะเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศเชอรี่ ในอันดับต้นของประเทศ ได้ทดลองปลูกจนประสบความสำเร็จ โดย รศ.ดร.บุญส่ง นักวิจัยคณะเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ทำการวิจัยเพาะปลูกและการแปรรูปมะเขือเทศเชอรี่ มาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้จากการทำงานวิจัยให้เกษตรกร เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน
© สนับสนุนโดย Thansettakij
มะเขือเทศเชอรี่มีความโดดเด่นด้านรสชาติ ปัจจุบันนำมารับประทานเป็นผลไม้สด มีผลตอบแทนสูง ประมาณกิโลกรัมละ 200-300 บาท มีความหลากหลายของสายพันธุ์ โดยตัวที่โดดเด่นที่สุดคือมะเขือเทศเชอรี่สีแดง
ในส่วนของการทดลองปลูกมะเขือเทศเชอรี่ ครั้งนี้ นับว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ในการปลูกมะเขือเทศเชอรี่ เปรียบเทียบพันธุ์ในระบบไฮโดรโปนิกส์ที่มีการหมุนเวียนนํ้าและสารอาหาร โดยปลูก 1 ต้น สามารถให้ผลผลิตประมาณ 4,000 ลูก ใช้ชื่อว่า “พันธุ์มหามงคล”
© สนับสนุนโดย Thansettakij
© สนับสนุนโดย Thansettakij
ทั้งนี้ มะเขือเทศมีความต้องการธาตุอาหารจำนวนมาก ใบและรากจึงต้องมีความสมดุลกัน นักวิจัยต้องใช้นํ้าเติมลงในอ่างวันละประมาณ 100 ลิตร เพื่อหล่อเลี้ยงราก พร้อมใส่ปุ๋ย AB สำหรับไฮโดรโปนิกส์ ในปริมาณที่เหมาะสม จึงทำให้ผลผลิตออกมาเป็นที่น่าพอใจ
ผู้ที่สนใจ สามารถชมระบบสาธิตการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์มะเขือเทศเชอรี่ ได้ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โทรศัพท์ 045-353500 หน้า 17 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,654 วันที่ 18 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปั้น Digital Valley @Ubon
ชงเครื่องประดับชนเผ่า ร่วมงานแฟร์ต่อยอดโกอินเตอร์