ส่องราษีไศล ศรีสะเกษ ก่อนและระหว่างน้ำท่วม
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เปิดเผยภาพเปรียบเทียบภาพน้ำท่วม กับก่อนน้ำท่วมด้วย *ข้อมูลภาพจากดาวเทียม (ภาพบน) และระหว่างน้ำท่วมจากดาวเทียม Pléiades (เปลยาด) (ภาพล่าง) ของวันที่ 5 ตุลาคม 65 พบพื้นที่น้ำท่วมขังตลอดแนวสองฝั่งริมแม่น้ำมูลที่ไหลผ่านในอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมลุ่มต่ำ บ้านเรือนประชาชน และเส้นทางการจราจร
หลังจากนี้ มวลน้ำเหล่านี้จะไหลต่อจากอำเภอราษีไศล ไปทางทิศตะวันออก และผ่านเข้าจังหวัดอุบลราชธานี ก่อนลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียมต่อไป ขอให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวและใกล้เคียง โดยเฉพาะตามแนวริ่มตลิ่ง ริมลำน้ำสายหลักสายรอง ให้เฝ้าสังเกตสถานการณ์และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดครับ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่รับมวลน้ำที่ไหลมาบรรจบกันทั้ง 2 สาย คือแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ปัจจุบัน พื้นที่บริเวณอำเภอราษีไศล มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้วกว่า 35,000 ไร่ ทั้งนี้ ข้อมูลจากดาวเทียม Pléiades นี้ได้รับการสนับสนุนจาก The International Charter Space and Major Disasters, CNES, AIRBUS และ United Nations Satellite Centre (UNOSAT)
เปิดภาพน้ำท่วมขังป่าโมก อ่างทอง
GISTDA เปรียบเทียบกับภาพก่อนน้ำท่วมด้วย *ข้อมูลภาพจากดาวเทียม (ภาพบน) และระหว่างน้ำท่วมจากดาวเทียม Pléiades (เปลยาด) (ภาพล่าง) วันที่ 5 ตุลาคม 65 พบพื้นที่น้ำท่วมในอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมลุ่มต่ำและบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงเส้นทางการจราจรในบางพื้นที่
มวลน้ำเหล่านี้จะไหลต่อจากอำเภอป่าโมกลงไปทางทิศใต้ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่อไป ขอให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวและใกล้เคียง โดยเฉพาะตามแนวริ่มตลิ่ง ริมลำน้ำสายหลักสายรอง ให้เฝ้าสังเกตสถานการณ์และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดครับ
จากข้อมูล ณ ปัจจุบัน ทุ่งป่าโมกมีพื้นที่รับน้ำ 47,373 ไร่ น้ำท่วมในทุ่งแล้ว 22,028 ไร่ ทุ่งบางกุ้งมีพื้นที่รับน้ำ 12,582 ไร่ น้ำท่วมในทุ่งแล้ว 840 ไร่
ดาวเทียมสแกนภาพน้ำท่วมขังบุรีรัมย์ สุรินทร์ ริม 2 ฝั่งแม่น้ำมูล
GISTDA เปรียบเทียบกับภาพก่อนน้ำท่วมด้วย *ข้อมูลภาพจากดาวเทียม (ภาพบน) และระหว่างน้ำท่วมจากดาวเทียม Pléiades (เปลยาด) (ภาพล่าง) วันที่ 5 ตุลาคม 65 พบพื้นที่น้ำท่วมในอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมลุ่มต่ำ บ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล และเส้นทางคมนาคม
มวลน้ำเหล่านี้จะไหลต่อไปทางทิศตะวันออกผ่านจังหวัดสุรินทร์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ก่อนลงสู่แม่น้ำโขงต่อไป ขอให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวและใกล้เคียง โดยเฉพาะตามแนวริมตลิ่ง ริมลำน้ำสายหลักสายรอง ให้เฝ้าสังเกตสถานการณ์และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่