วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2024

กรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดตัวศูนย์ TISC หนุนไทยสร้างเทคเอง ไม่ง้อต่างชาติ

กรมทรัพย์สินทางปัญญา จับมือ 10 มหาวิทยาลัย ตั้งศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรม TISC สนับสนุนผู้ประกอบการไทยคิดค้นนวัตกรรม ไม่ง้อต่างชาติ หวังดันไทยพ้นกับดักรายได้ปานกลาง

วันที่ 13 สิงหาคม 2564 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) มาอย่างยาวนาน ถึงแม้จะเปลี่ยนตนเองมาส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม แต่ไทยยังไม่ปรับตนเองให้เป็น “ผู้พัฒนา” ยังอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากต่างชาติ กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนำทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ประกอบการไทยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี ให้ไทยกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสมบูรณ์

ล่าสุดร่วมมือองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TISC Thailand เป็นศูนย์กลางและแหล่งข้อมูลด้านนวัตกรรมจากทั่วโลก สนับสนุนให้นักประดิษฐ์ ผู้ประกอบการจากภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษาเข้าถึงข้อมูลด้านทรัพย์สินทางปัญญา ที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สอดรับกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0

โดยร่วมมือกับ 10 สถาบันการศึกษาในไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราขมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อให้สถาบันการศึกษาเข้าถึงฐานข้อมูลด้านสิทธิบัตรจากทั่วโลก สามารถนำข้อมูลทางทรัพย์สินทางปัญญาไปวิเคราะห์และวิจัยให้เกิดผลงานสร้างสรรค์โดยฝีมือคนไทย นอกจากนี้ยังหารือเตรียมบรรจุวิชาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในหลักสูตรของทุกคณะในมหาวิทยาลัยอีกด้วย

สำหรับสถาบันการศึกษาทั้ง 10 สถาบัน เดิมมีหน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและหน่วยบ่มเพาะทรัพย์สินทางปัญญาอยู่แล้ว เมื่อปรับมาเป็นศูนย์ TISC จะได้รับการสนับสนุนจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก โดยมีกำหนดระยะเวลา 5 ปี ทำให้สถาบันการศึกษาสามารถยกระดับขยายบริการได้เต็มศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันศูนย์ TISC ทั่วโลกให้บริการแล้ว 10 บริการ

อาทิ ระบบการสืบค้นฐานข้อมูลสิทธิบัตรกว่า 200 ประเทศ บริการสืบค้นข้อมูลด้วยโปรแกรมใหม่ Inspire แบบ On-Demand Searches การให้คำปรึกษาและวางแผนการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ระบบการประมวลเทรนด์เทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสืบค้นข้อมูลเชิงลึก เป็นต้น

อย่างไรก็ตามจากรายงานขีดความสามารถด้านนวัตกรรม (the Global Innovation Index) ปี 2563 พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถด้านนวัตกรรมอยู่ในอันดับ 44 จาก 131 ประเทศทั่วโลก และมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์จำนวน 36,108 ราย

ขณะที่การจดสิทธิบัตรทั่วโลกมีมากกว่า 3.1 ล้านฉบับ โดย 1.3 ล้านฉบับอยู่ในประเทศจีน 6 แสนฉบับในสหรัฐอเมริกา 3 แสนฉบับในญี่ปุ่น และ 2 แสนฉบับในเกาหลีใต้ ซึ่งสิทธิบัตรกว่า 44% มาจากบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยี เช่น ไอบีเอ็ม ซัมซุง แคนนอน เทสลา ไมโครซอฟต์ แอปเปิล หัวเว่ย กูเกิล และอเมซอน

QR Code LINE@ Prachachat

ไม่พลาดข่าวสำคัญ เจาะลึกทุกประเด็น

เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @prachachat

ติดตามข่าวธุรกิจ

อุบลราชธานี

อุบลราชธานี

อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซ่บหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล

Related Posts

Next Post

บทความ แนะนำ

No Content Available

หมวดบทความ

การก่อสร้าง การขนส่งทางรถไฟ รถไฟฟ้า การค้าวัสดุก่อสร้าง การติดตั้งไฟฟ้าสายหลัก การปั้มโลหะ การผลิต การบรรจุก๊าซ การผลิตซิเมนต์ ปูนขาว การผลิตน้ำแข็ง การผลิตรองเท้า การผลิตเคมีภัณฑ์ การผลิตแบตเตอรี่ การหล่อหลอม การกลึงโลหะ การเผาถ่าน การเลี้ยงสัตว์ กิจกรรม กิจการอื่นๆ ข่าว ตรวจหวย ธุรกิจ บริการซัก อบ รีด บริษัท มูลนิธิ ร้านค้า ร้านอาหาร วิถีชีวิต สถานที่ท่องเที่ยว สถานศึกษา สพป.อุบลราชธานี เขต 1 สพป.อุบลราชธานี เขต 2 สพป.อุบลราชธานี เขต 3 สพป.อุบลราชธานี เขต 4 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 สพม.เขต 29 สมาคม สำนักงานจัดการเดินทาง หน่วยงานราชการ อบต. เอสเอ็มอี โรงงาน โรงพยาบาล บริการสุขภาพ โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนศิลปะและกีฬา โรงเรียนสอนวิชาชีพ โรงเรียนสามัญ โอทอป

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.